วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

Gerund

Gerund คือ คำกริยาเติม ing    ทำหน้าที่เป็นคำนาม โดยนิยมเรียกว่า กริยานาม เมื่อนำมาประกอบในประโยคอาจวางไว้หน้า กลาง หรือ หลังประโยคตามความประสงค์ของผู้พูด เช่น 
Smoking has been unpopular. การสูบบุหรี่กลายเป็นสิ่งล้าสมัยแล้ว 
Forgive my interfering you. ขออภัยที่ฉันรบกวนคุณ
My favourite activity is singing กิจกรรมโปรดของฉันคือการร้องเพลงอ่านเพิ่มเติม




Infinitive with and without to

Infinitives คือ รูปกริยาภาษาอังกฤษ ที่แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ Infinitive with to (กริยาช่องที่ 1 ที่ต้องมี to นำหน้า)

Infinitive without to (กริยาช่องที่ 1 ที่ไม่จำเป็นต้องมี to นำหน้า)

ตำแหน่งของ Infinitive with to ในประโยคต่างๆ

1. ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามซึ่งเป็นประธานของประโยค โดยมีความหมายว่า “การ” หรือ “ความ”

To be a millionaire is my goal. (การได้เป็นเศรษฐีเป็นเป้าหมายของฉัน) อ่านเพิ่มเติม



So และ Such

มีคนถามเข้ามาว่า So กับ Such 2 คำนี้ใช้ต่างกันอย่างไรคำว่า so กับ such ในภาษาอังกฤษถ้าแปลตรงๆ เลยก็จะมีความหมายว่า มากจน หรือ มากจนถึงขนาดว่า ทั้งสองคำแปลออกมาได้เหมือนกัน แต่เอแล้วมันใช้ต่างกันยังไงนะวันนี้เลยขอถือโอกาสมาแนะนำวิธีใช้ 2 คำนี้อย่างถูกต้องค่ะ
So … that, Such … that
โดยปกติ เราจะใช้ so … that, such … that: ในกรณีต่อไปนี้
a) ใช้แสดงความจริง (โดยปกติมักมีผลสืบเนื่องตามมา)
M’s feet are big.
(เป็นความจริงที่เท้าของเอ็มใหญ่).
M’s feet are so big that she can’t find shoes her size.
(เน้นย้ำว่าเพราะเท้าของเอ็มใหญ่จึงทำให้หารองเท้าที่พอดีไซส์ไม่ได้) b) ใช้แสดงความรู้สึกหรือความเห็นว่ามากเสียจน(มากจริงๆ)อ่านเพิ่มเติม

Present Perfect Continuous Tense

Present Perfect Continuous Tense มีหลักการใช้คล้ายกับ present perfect tense เพียงแต่เน้นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และรูปที่ใช้จะมี verb to be ด้วย
โครงสร้าง : S + has, have + been + V.ing
She has been helping us since one o’ clock.
หล่อนได้ช่วยเหลือพวกเรามาตั้งแต่เวลาบ่ายโมงจนถึงขณะนี้
การใช้ Present Perfect Continuous Tense
1) การใช้ Present Perfect Continuous Tense กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาในอดีตและยังดำเนินไปอยู่ในขณธที่พูดนั้นอ่านเพิ่มเติม



Past Perfect Continuous Tense

 Past Perfect Continuous Tense ใช้คล้ายๆ กับ Present Perfect Tense เช่นเดียวกับที่ Present Perfect Continuous Tense ใช้คล้ายกับ Present Perfect Tense โดย Past Perfect Continuous Tense จะเน้นถึงช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต
โครงสร้าง: S + had + been +V.ing
Had ใช้ได้กับประธาน ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
At that time he had been writing a novel for two months.
ช่วงเวลานั้นเขาได้เขียนนวนิยายเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว
การใช้ Past Perfect Continuous Tense
1) ใช้ Past Perfect Continuous Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเกิดก่อนหน้าช่วงเวลาอดีตที่กำลังพูดถึงกันอยู่ (เหมือน Past Perfect Tense) และดำเนินต่อเนื่องกันมาถึงช่วงเวลาหนึ่งจึงจบลง ซึ่งจะใช้ Past Perfect หรือ Past Perfect Continuous ก็ได้โดยจะใช้ Past Perfect Continuous ก็ต่อเมื่อต้องการเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดก่อนในอดีต ว่าได้เกิดต่อเนื่องกันมามิได้หยุด ก่อนที่จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นอดีตเช่นกันได้เกิดขึ้นในภอ่านเพิ่มเติม


Past Perfect Tense

Past Perfect Tense มีรูปโครงสร้างคล้ายกับ present perfect tense ต่างเฉพาะ present perfect tense ใช้ has, have เป็นกริยาช่วย ส่วน past perfect tense ใช้ had เป็นกริยาช่วยและการใช้ก็ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต และเหตุการณ์ที่พูดถึงนั้นจบสมบูรณ์แล้ว
โครงสร้าง: S + had +V.3…
She explained that she had forgotten her book.
หล่อนอธิบายว่าหล่อนได้ลืมหนังสือหนังสือเล่มหนึ่ง
My son ran away after he had broken the window.
ลูกชายของผมได้วิ่งหนีไปหลังจากที่เขาได้ทำหน้าต่างแตก
การใช้ Past Perfect Tense
1) ใช้ Past Perfect Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงก่อนเหตุการณ์ที่เป็น past simple หมายความว่า เมื่อเราได้พูดถึงเหตุการณ์ที่เป็นอดีตจบลงแล้ว (เหตุการณ์นี้ใช้ past simple) และถ้าอยากจะพูดถึงเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนอดีตที่เพิ่งจะพูดจบลงไปเมื่อครู่นี้ ให้ใช้ past perfect tenseอ่านเพิ่มเติม



Past Continuous Tense

Past Continuous Tense เป็น tense ที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในอดีต หรือเกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต โดยมีรูปโครงสร้างคล้ายกับ present continuous tense ต่างแต่ past continuous tense ใช้กริยาช่วย verb to be รูป was, were และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นจบลงแล้ว
โครงสร้าง: S + was, were + V.ing
Was: ใช้กับประธานเอกพจน์รวมทั้ง I
Were: ใช้กับประธานพหูพจน์
การใช้ Past Continuous Tense
1) ใช้ past continuous tense กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต โดยอาจจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาในอดีตระบุไว้ให้ทราบด้วอ่านเพิ่มเติม


      

Past Simple Tense

Past Simple Tense พูดถึงเหตุการณ์ที่จบลงแล้ว คือ เหตุการณ์ที่ผ่านเป็นอดีตไปแล้วนั่นเอง ในโครงสร้างของ past tense นั้น past simple tense มีบทบาทค่อนข้างสูงเพราะง่ายต่อการนำมาใช้ และมีโครงสร้างคล้ายกับ present simple tense การใช้ก็ไม่ต่างกันมากเพียงแต่ past simple tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต ส่วน present simple tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ส่วนกริยาที่ใช้ก็จะ ต่างกันนิดหน่อย โดยกริยาของ present simple tense จะเป็นช่องที่ 1 (V.1) ส่วนกริยาของ past simple tense จะเป็นช่องที่ 2 (V.2) และคำกริยาวิเศษณ์ของ past simple tense ก็จะต่างจาก present simple tense ด้วยเช่นกัน
โครงสร้าง : S +V.2
She told me her story.
หล่อนเล่าเรื่องของหล่อนให้ผมฟัง
I wrote a letter to Ladda yesterday.
ผมได้เขียนจดหมายถึงลัดดาเมื่อวานนี้
การใช้ Past Simple Tense
1) ใช้ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตและจบลงไปแล้วในอดีตและไม่มีอะไรต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยมากจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกถึงอดีตอยู่ด้อ่านเพิ่มเติม


Present Perfect Tense

รูปแบบของ Present Perfect Tense

Subject + has/have + Verb3

หลักการใช้ Present Perfect Tense 

ใช้กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และมีแนวโน้นที่จะดำเนินต่อไปได้อีกในอนาคต เช่น I have had a lot of toys. ฉันมีของเล่นมากมาย (และอาจจะมีของเล่นเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต) 

ใช้กับเหตุการณ์ในอดีตที่ เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังส่งผลมายังปัจจุบัน เช่น It has stopped raining. ฝนหยุดตกแล้ว (แต่ถนนยังเปียกอยู่) อ่านเพิ่มเติม


Present Continuous Tense


            
             Present Simple Tense (ปัจจุบันกาล) คือ tense ที่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ระบุว่าการกระทำนั้นๆ สมบูรณ์แล้วหรือยัง โดยมีโครงสร้างดังนี้โครงสร้าง :Subject + verb…
(ประธาน) + (กริยาช่องที่ 1)
Subject คือ ประธานของประโยค โดยประธานอาจจะแตกต่างกันไปเช่น เป็นคำนาม (noun) เป็นคำสรรพนาม (pronoun) หรือเป็นประธานชนิดอื่นๆ โดยประธานจะมี 2 ชนิดคือ
- ประธานเอกพจน์
- ประธานพหูพจน์
Verb คือ กริยาของประธานหรืออาการที่ประธานแสดงออกมาโดยกริยาแท้จะมี 3 ช่อง เช่น
ช่อง 1 ช่อง 2 ช่อง 3

Present Simple Tense

หลักการใช้ Present Simple Tense ปัจจุบันธรรมดา
หลักการใช้ Present Simple Tense
Present Simple Tense (Tense ปัจจุบันธรรมดา)
Present  เพร๊เซินท= ปัจจุบัน
Simple ซิ๊มเพิล = ธรรมดา
โครงสร้าง
S + V1 (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s,es)
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเติม s หรือ es แล้วแต่กรณี)
S + กริยาช่วย + V1
ประธาน + กริยาช่วย + กริยาช่องที่ 1 (ไม่ต้องเติม s ทุกกรณี)
กริยาช่วยที่ใช้บ่อยคือ can, should, must
Tense นี้ค่อนข้างจะยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่ประธานเอกพจน์ต้องเติม s ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม สิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากนิดหนึ่งคือการเติม s เพราะกริยาบางตัวต้องเติม es ไม่ใช่แค่ s เฉยๆ แต่ไม่ใช่เรื่องยากถ้าได้ศึกษาการเติม s ที่้ท้ายคำนามเพื่อให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
หลักการใช้
ในหนังสืออาจจะบอกไว้หลายข้อ แต่ให้ผู้เรียนจำไว้แค่ 2 ข้อ คือ จริงและวัตรอ่านเพิ่มเติม